หลังจาก Yongnuo
ได้เปิดตัว Flash Trigger E TTL YN622C
สำหรับ Canon ผ่านมาเกือบ1ปี
ชาวสาวกNikonได้แต่เฝ้ารอคอยที่จะได้ใช้งาน Flash
Trigger ความสามารถสูงในราคาที่จับต้องได้เหมือนกับชาว
Canon บ้าง ในที่สุดวันนี้ก็มาถึง 
สุดยอดแฟลชทริกเกอร์จาก Yongnuo
สำหรับ Nikon YN622N
เป็นแฟลชทริกเกอร์ที่มากับความสามารถแบบจัดเต็ม
เรียกได้ว่าสามารถทำงานได้ใกล้เคียงกับระบบ Creative Lighting System(CLS)
ของทาง Nikon เลยที่เดียว
ที่ดีกว่าระบบCLSคือจะสามารถใช้งานกลางแจ้งได้ระยะไกลถึง100เมตรเพราะใช้สัญญาณวิทยุเป็นตัวส่งสัญญาณ
เริ่มอยากรู้แล้วใช่ไหมครับว่า YN622N
ตัวนี้ทำอะไรได้บ้าง เรามาเริ่มดูที่สเป็คของเจ้า YN622N
กันก่อนเลยแล้วกันครับ Specification -
รูปแบบการส่งสัญญาณ :
Digital FSK 2.4GHz Wireless Transceiver -
ระยะทำการ :
100เมตร -
จำนวนช่องสัญญาณ :
7ช่อง -
โหมดแฟลช :
i-TTL , Manual Flash -
ซิงค์โหมด :
Front-Curtain Sync , Rear-Curtain Sync , Hi-Speed Sync(Auto FP) -
กลุ่มการทำงาน :
3กลุ่ม(A/B/C) -
ความเร็วชัตเตอร์ :
1/8000* -
สัญญาณเข้า :
Hot-Shoe -
สัญญาณออก :
Hot-Shoe , PC Port -
แบตเตอรี่ :
AAx2ก้อน (Support 1.2V Rechargeable Battery) -
เวลาสแตนบาย :
60ชั่วโมง -
ขนาด :
89.5 x 53 x 39 มิลลิเมตร -
น้ำหนัก :
78กรัม(ไม่รวมแบตเตอรี่) *ความเร็วในการ Sync
Speed ขึ้นอยู่กับตัวแฟลชและกล้องว่า Support ความเร็วเท่าใด ก่อนจะเริ่มทำการทดสอบกัน ในคู่มือระบุข้อควรระวังเอาไว้ว่า
ให้ปิดอุปกรณ์ต่างๆก่อนที่จะติดตั้งหรือเชื่อมต่อตัวอุปกรณ์
ควรเก็บไว้ในที่แห้งไม่ควรโดนน้ำหรือโดนฝน
ใช้แบตเตอรี่ตามที่กำหนด(ก็คือใช้เฉพาะถ่านAAเท่านั้น) เริ่มต้นเราจะตั้งค่าของตัวรับและตัวส่งของTrigger
ตัวYN622N จะสามารถเป็นได้ทั้งตัวส่งและตัวรับในตัวเดียวกัน
ตัวที่ติดอยู่กับตัวกล้องเราจะเรียกว่าตัวส่ง
ตัวที่ติดอยู่กับแฟลชไร้สายเราจะเรียกว่าตัวรับ
เริ่มต้นเราจะทำการตั้งช่องทั้งตัวส่งและตัวรับให้ตรงกัน 
หลังจากนั้นตั้งค่าตัวรับว่าจะให้เป็นกลุ่มไหน สามารถตั้งค่าได้3กลุ่ม
ตัวส่งสามารถตั้งได้ว่าจะให้กลุ่มไหนทำงานบ้างเช่นให้กลุ่มAติดอย่างเดียว ให้AและBติด
ให้ทุกกลุ่มติดเป็นต้น 
YN622N
ระบุไว้ว่าสามารถใช้งานได้ 3โหมด
เดียวเราจะทำการทดสอบการทำงานกันที่ละโหมด โดยกล้องที่ผมใช้จะเป็น Nikon
D7000 เลนส์ 18-200mm. แฟลชจะมีด้วยกัน 3ตัว ตัวที่1เป็น
Nikon SB-900 ติดบนหัวกล้อง ตัวที่2และ3เป็น Yongnuo YN568N ต่อกับ YN622N เป็นแฟลชไร้สาย
ใช้ค่าคงที่ดังนี้ iso100 นายแบบของผมจะเป็นกล้องCanon KissX3 
1.)
Remote
Control Mode 
เป็นโหมดการทำงานที่ใช้งานได้ง่ายสุด โดยติดตั้งYN622Nเข้าที่ตัวกล้องเป็นตัวส่ง และ
ติดตั้งแฟลชเข้ากับYN622Nตั้งค่าแฟลชเป็นTTLเป็นตัวรับ (สามารถติดตั้งแฟลชเข้ากับบนตัวกล้องเพิ่มเติมได้) เมื่อติดตั้งและเปิดอุปกรณ์ทั้งหมดแล้ว สังเกตว่าเมื่อเราปรับค่า F
ที่กล้องแฟลชจะปรับเปลี่ยนตามไปด้วย
และเมื่อเราปรับระยะซูมของเลนส์ แฟลชจะเปลี่ยนระยะซูมตามไปด้วย
ในกรณีปรับระยะซูมที่กล้องแล้วแฟลชไม่ปรับตาม ให้ไปปรับตั้งค่าแฟลชให้ระบบซูมเป็นAuto ค่าซูมก็จะปรับตามเลนส์ทั้นที การทดลองที่1_1 ทดสอบโดยเปลี่ยนแปลงค่ารูรับแสง เริ่มต้นทำการทดสอบโดยใช้แฟลชไร้สาย1ตัววางไว้ด้านซ้ายมือ แฟลช2ตัววางซ้ายและขวามือ และ 3ตัววางซ้ายและขวาและบนหัวกล้อง
ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ไว้ที่ 1/200s
และค่าชดเชยแสงแฟลชไว้ที่ EV0.0
เราทำการปรับเลี่ยนค่ารูรับแสง 
ภาพเล็กซ้ายมือจะเป็นภาพที่ขยายจากด้ามจับของตัวกล้อง
สังเกตได้ว่าไม่ว่าเราจะใช้ค่ารูรับแสงเท่าใดถึงภาพที่ออกมาจะแตกต่างกันแต่ภาพที่ได้ตรงวัตถุจะมีแสงใกล้เคียงกันทุกภาพ
ทำให้เราสรุปได้ว่าตัว Wireless Flash Trigger Yongnuo YN622N ทำงานร่วมกับระบบวัดแสงของกล้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้นเราจะใช้แฟลชหลายๆตัวระบบวัดแสงก็ยังแม่นยำมาก การทดลองที่1_2 ทดสอบโดยเปลี่ยนแปลงค่าความเร็วชัตเตอร์ เราจะตั้งค่ารูรับแสงคงที่ไว้ที่ F/5.6
และตั้งค่าชดเชยแสงไว้ที่ EV0.0 จากนั้นเราจะทำการเปลี่ยนแปลงค่าความเร็วชัตเตอร์ 
ผลที่ได้ถึงใกล้เคียงกับตอนที่เราเปลี่ยนแปลงค่ารูรับแสง
คือถึงภาพที่ได้ออกมาจะแตกต่างกันแต่ภาพที่ได้ตรงวัตถุมุมซ้ายมือ
จะมีแสงใกล้เคียงกันทุกภาพ ยิ่งทดสอบผมยิ่งชอบระบบการวัดแสงของกล้องNikon
และยิ่งชอบการทำงานของ Wireless Flash Trigger Yongnuo YN622N การทดลองที่1_3 ทดสอบโดยการเปลี่ยนแปลงค่าชดเชยแสงแฟลช เราจะตั้งค่ารูรับแสงคงที่ไว้ที่ F5.6
และตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ไว้ที่
1/200s จากนั้นเราจะทำการเปลี่ยนแปลงค่าชดเชยแสงเป็น
EV+1.0 , EV0.0 , EV-1.0 และ EV-2.0 ตามลำดับ 
ผลที่ได้สามารถชดเชยแสงไฟไปทางด้านบวกและด้านลบได้เป็นอย่างดี
แต่จะมีกรณีการใช้แฟลช3ตัว ผมที่ได้ของ EV-1.0
และ EV-2.0 ค่อนข้างใกล้เคียงกัน เกิดจากแฟลชทั้ง3ตัวยิงกำลังต่ำสุดๆแล้วไม่สามารถยิงเบากว่านี้ได้
จึงไม่สามารถชดเชยแสงแฟลชลงไปด้านลบได้อีก
กรณีนี้ถ้าจะทดสอบอีกครั้งเราต้องทำการตั้งค่ารูรับแสงให้มากขึ้นไปอีก
อาจจะใช้ค่ารูรับแสงเป็น F/8 หรือ F/11 จะทำให้ผมที่ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น การทดลองที่1_4 ทดสอบโดยใช้โหมด Manual ในโหมดขอรีโมท เราสามารถปรับเปลี่ยนการทำงานจากระบบ iTTL
มาเป็นระบบManualได้ง่ายๆ โดยการกดปุ่ม
MODE แช่จนไฟจะเป็นสีส้ม ก็จะสามารถควบคุมแฟลชเป็นแบบ Manual ได้

เราได้ทำการทดสอบเพิ่มเติมในโหมดของ Manual
โดยคั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ไว้ที่ 1/200s ค่ารูรับแสงไว้ที่ F5.6 จากนั้นเราปรับเปลี่ยนค่าชดเชยแสงที่กล้อง 
จากการทดสอบค่ากลางEV0.0
แฟลชทุกตัวจะยิงแฟลชที่กำลัง ตรงกลางคือ 1/8
เมื่อเราปรับค่าEV+1.0 แฟลชทุกตัวจะยิงกำลังเพิ่มไป1สต๊อปแสงเท่ากับแฟลชทุกตัวจะยิงกำลังที่1/4 ที่ค่าEV-1.0 และ EV-2.0 ก็จะเป็นในทำนองเดียวกัน
แสงจะลดลงไป1และ2สต๊อป กำลังที่ยิงออกไปทุกตัวจะเป็น
1/16 และ 1/32 ตามลำดับ สรุปผลที่ได้ ระบบวัดแสง iTTL
ของกล้องNikonที่เราทดสอบ สามารถทำงานร่วมกับ
Wireless Flash Trigger Yongnuo YN622N
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าเราจะปรับเปลี่ยนค่าที่ตัวกล้องอย่างไร
การวัดแสงที่ได้ก็ยังใกล้เคียงกันในทุกๆครั้ง ไม่ว่าเราจะใช้แฟลชจำนวนกี่ตัวการวัดแสงที่ได้ตรงวัตถุก็ยังทำงานได้เป็นอย่างดีแสงที่ได้ออกมาสม่ำเสมอ
ผมเองก็ค่อนข้างทึ่งในการวัดแสงอันชาญฉลาดของกล้องNikon และการทำงานที่แม่นยำของ Trigger YN622N
โดยที่เราไม่จำเป็นต้องเดินไปปรับค่าที่ตัวแฟลชเลย เยี่ยมจริงๆ ใจจริงผมอยากจะทำReviewให้จบในหัวข้อเดียว แต่ดูจากลูกเล่นของ YN622N
แล้วผมไม่สามารถย่อให้เนื้อหาสั่นลงได้ เรายังค้างอีก2โหมดคือ
Mix Control Mode และ Master Control Mode โหมดที่มีความสามารถสูงสุดที่ผมอยากจะReviewให้ทุกๆคนได้เห็นจะเป็นโหมด Master Mode เพราะโหมดนี้จะสามารถปรับค่าในแต่ละกลุ่มให้เป็น Manual ให้เป็น TTL ได้อิสระในแต่ละกลุ่ม
อีกทั้งยังสามารถชดเชยแสงได้อิสระในแต่ละกลุ่ม
ยังไงต้องขอให้อดใจรอกันอีกซักนิดไม่เกิน 1สัปดาห์ผมจะมาReviewโหมดที่เหลือให้ได้ดูกัน Review
By : Joke Opto / 15 มิถุนายน 2556
http://www.opto.in.th |